หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สรุปการใช้คำสั่ง rails generate

คำสั่ง rails generate เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ในการอำนวยความสะดวก และช่วยจัดระเยียบของไฟล์และโฟล์เดอร์เพื่อให้ตรงกับรูปแบบที่ rails กำหนดไว้เป็นค่า default

คำสั่งนี้จะทำการสร้างโค้ดหรือไฟล์ให้เราโดยอัตโนมัติในกรณีที่ ต้องการสร้างหรือเปลี่ยนแปลง model หรือ controller ของเรา หรือ

โดยทั่วไปนั้นการใช้งาน rails generate จะแบ่งออกเป็น 3 กรณีด้วยกัน

1. ใช้สร้าง controller
โดยปกติแล้วเมื่อทำงานภายใต้ Rails ขั้นตอนของการสร้างหน้า page ขึ้นมาหน้าหนึ่งนั้น จะต้องสร้างไฟล์ที่ทำหน้าที่แสดงผลผ่านทาง browser ซึ่งเป็นไฟลฺ์ .erb โดยไฟล์นี้จะอยู่ในโฟลเดอร์ของ view และอาจจะต้องสร้างไฟล์ในส่วนของ controller ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่กำหนด logic หรือ เงื่อนไข สำหรับการแสดงผลในหน้าของ view เช่นอาจจะต้องไปดึงข้อมูลจาก database แล้วเอามาแสดงผลซึ่งตรงนี้ก็จะรับผิดชอบโดย controller

เราสามารถลดขั้นตอนของการสร้างไฟล์และโค้ดในส่วนของ view และ controller ได้โดยการสั่งให้ Rails สร้างไฟล์ที่เป็น view และ controller ให้เราผ่านคำสั่งเพียงคำสั่งเดียว

สมมติว่าเราต้องการสร้างหน้า page เกี่ยวกับข้อมูลเบื้องต้นของบริษัท โดยกำหนดให้ชื่อของ section นี้ เป็น company และหน้าแรกของ section ให้ชื่อว่า about
เราจะใช้คำสั่งดังนี้
 
>rails generate controller welcome index

หลังจากรันคำสั่งแล้ว ไฟล์ต่อไปนี้จะถูกสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ

app/controllers/company_controller.rb
app/controllers/view/about.html.erb
app/helpers/company_helper.rb
...
...

เราสามารถไปใส่รายละเอียดสำหรับ logic ในไฟล์ company_controller.rb และกำหนดรูปร่างหน้าตาของ view ได้ในไฟล์ about.html.erb 

2. ใช้สร้าง model ใหม่
สำหรับ Rails นั้น การสร้าง model คือการสร้าง table ใน database เพื่อเก็บข้อมูลของสิ่งที่เราสนใจ (เช่น ลูกค้า, คำสั่งซื้อ) ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะถูกมองเป็นอ็อบเจกต์ table ที่สร้างขึ้นก็จะสอดคล้องกับคลาสของอ็อบเจกต์ตัวนั้น คุณลักษณะต่างๆ อ็อบเจกต์ก็จะเปรียบเทียบได้กับ field หรือเป็น column ของ table (ซึ่งก็คือคลาส) โดยการจัดการกับข้อมูลในลักษณะของอ็อบเจกต์นี้จะเป็นไปตามหลักการ ORM (Object Relational Mapping) ซึ่งถูกใช้ใน database อย่าง ActiveRecord หรือ DataMapper

ขั้นตอนของการสร้าง model ค่อนข้างที่จะเป็น routine job นั้นคือ คุณต้องสร้างคลาสของข้อมูลที่ต้องการจะเก็บไว้ใน database ขึ้นมา โดยในคลาสนี้คุณจะต้องกำหนดคุณลัษณะของข้อมูลซึ่งจะถูกใช้เป็นชื่อของ column ใน table ที่จะถูกสร้างขึ้นในลำดับถัดไป จากนั้นจะต้องสร้างคลาสอีกคลาสหนึ่งเพื่อให้ Rails ใช้อ้างอิงในการ "migrate" ซึ่งก็คือการสร้าง table ใน database โดยจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะถูกจัดการด้วย rake โดยใช้ rake:migrate

กระบวนการสร้าง model ที่ยุ่งยากข้างต้นสามารถทำให้สั้นลงได้โดยใช้คำสั่ง rails generat
โดยสมมติว่าเราต้องการสร้าง model ที่ชื่อว่า User โดยประกอบด้วย field ง่ายๆ 2 field ได้แก่ name และ string เราก็สามารถทำได้โดยใช้คำสั่งต่อไปนี้

> rails generate model User name:string email:string 

หลังจากใช้คำสั่งแล้ว Rails จะสร้างไฟล์ ขึ้นมา 2 ไฟล์ได้แก่

db/migrate/[time_stamp]_create_user.rb
app/models/user.rb

เมื่อลองตรวจสอบดูจะพบว่า
โค้ดในไฟล์ user.rb เป็นโค้ดที่เก็บคลาสที่ชื่อว่า User (ชื่อเดียวกับไฟล์และ table ที่จะถูกสร้างขึ้นใน database) ณ ตอนนี้เป็นคลาสเปล่าๆ ไม่มีโค้ดใดๆ

class User < ActiveRecord::Base
end

ส่วนโค้ดในไฟล์ [time_stamp]_cretae_user.rb จะเป็นโค้ดที่รับผิดชอบในการสร้าง table ที่ชื่อว่า User ลงใน database (ในที่นี้ก็คือ ActiveRecord)

class CreateUsers < ActiveRecord::Migration
  def change
    create_table :users do |t|
      t.string :name
      t.string :email

      t.timestamps
    end
  end
end

เมื่อได้ไฟล์ทั้ง 2 ไฟล์แล้วเราเพียงแค่พิมพ์คำสั่ง rake db:migrate ลงใน command prompt แล้ว Rails ก็จะทำการสร้าง table ที่ชื่อว่า User ที่ประกอบด้วย column name และ email ตามที่เรากำหนดไว้ให้โดยอัตโนมัติ

3. ใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขโครงสร้างของ Table ใน database
ในกรณีที่เราต้องการแก้ไขโครงสร้างของ table ที่เราสร้างขึ้นก่อนหน้า เช่น ต้องการเพิ่ม field ของเบอร์โทรของผู้ใช้ (phone_number) ซึ่งเป็น field ใหม่เข้าไป เราจะไม่เข้าไปแก้ไข table ผ่านทาง database โดยตรงแต่จะใช้กระบวนการ migration ของ Rails แทน ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการข้อมูลของ Rails ในลักษณะของอ็อบเจกต์โมเดลนั้นสอดคล้องกัน

แต่ปัญหาคือการ migration แต่ละครั้งมีขั้นตอนยุ่งยากพอควร
ขั้นตอนในการ migration แบบคร่าวๆ จะเริ่มตั้งแต่ คุณจะต้องสร้างคลาสที่เป็นตัวแทนของการ migration ในครั้งนั้นขึ้นมา โดยระบุการเปลี่ยนแปลงการต้องการเอาไว้ภายในคลาส เช่น เพิ่ม column เพิ่ม index ลบ column เป็นต้น (ทำผ่านทางเมธอดตามรูปแบบที่กำหนดของ Rails) โดยให้ระบุด้วยว่าเป็นคลาสที่สืบทอดมาจากคลาส ActiveRecord::Migration เสมอ
เมื่อสร้างคลาสเรียบร้อยแล้วก็ให้ทำการรันคำสั่ง rake db:migrate เพื่อสั่งให้ Rails ดำเนินการเปลี่ยนแปลงที่เราต้องการกับ database

เช่นเดียวกับ 2 ข้อที่ผ่านมา เราสามารถลดขั้นตอนที่ยุ่งยากโดยการใช้คำสั่ง rails generate เพื่อให้ Rails สร้างไฟล์และโค้ดที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงให้โดยอัตโนมัติ

สมมติว่าเราต้องการเพิ่ม field ชื่อ phone_number เข้าไปในโมเดล User เราก็ทำได้โดยใช้คำสั่ง

> rails generate migration add_phone_number_to_users phone_number:string

เมื่อรันคำสั่งแล้ว เราก็จะได้ไฟล์
db/migrate/[time_stamp]_add_phone_number_to_users.rb

มีหน้าตาดังนี้

class AddPhoneNumberToUsers < ActiveRecord::Migration
  def change
    add_column :users, :phone_number, :string
  end
end

จากนั้นก็เพียงแค่ใช้คำสั่ง rake db:migrate เพื่อให้ Rails ดำเนินการ update database ให้เราโดยอัตโนมัติ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น