สมัยนั้นภาษาโปรแกรมที่ทำงานบน Windows หรือ DOS ก็มีอยู่ไม่กี่ตัว อย่าง C, Pascal, Cobal ซึ่งการใช้งานของภาษาของแต่ละภาษาก็ไม่ง่ายเลย แถมแหล่งความรู้ที่จะศึกษานี่ก็จำกัดอย่างยิ่ง เพราะหนังสือเกี่ยวกับ computer programming ภาษาไทยที่มีขายก็น้อย(และอ่านยากมากๆๆๆๆ) internet ก็ยังไม่แพร่หลายเหมือนทุกวันนี้ จะซื้อ text มาอ่านก็แพงไปแถมภาษาอังกฤษเรายังออกทะเลอีก
เล่มนี้ล่ะครับคลาสิกมาก รุ่นปู่อยากผมใช้กันทุกคนครับ(อ่านยากมากเช่นกัน)
สำหรับผมแล้วสิ่งเหล่านี้ทำให้ภาพของการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในการทำงานต่างๆจึงเลือนรางเหลือเกิน ไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหน ใช้อย่างไร ไปจนถึงคิดว่าคอมพิวเตอร์ก็ดีที่เล่นเกมกับเอาไว้พิมพ์งานส่งเท่านั้น!
แต่เนื่องจากผมใช้คอมฯ อยู่ตลอดทั้งเล่นเกม เล่นเน็ต ส่งเมล ใช้ excel ทำงาน(งานนี่อันดับสุดท้ายเลย) จึงได้รับรู้ข้อมูล และเห็นวิวัฒนาการของการใช้ภาษา programming ในบ้านเรามาด้วย ซึ่งผมบอกได้เลยว่าตอนนี้หากจะเริ่มเขียนโปรแกรมซักตัวเพื่อเอามาทำอะไรบางอย่างตามที่เราต้องการนั้น มันไม่ได้ยากเย็นขั้นเทพเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว เพราะ...
1) มีภาษา computer ให้ศึกษากันเยอะมาก ชอบใจภาษาไหนก็มีให้เลือก แต่ละภาษาก็มีจุดเด่นของตัวเองต่างกันไป
2) แหล่งข้อมูลเพื่อศึกษาการเขียนโปรแกรมนั้นมีมากขึ้นทั้ง internet และหนังสือภาษาไทย วางขายกันเกลื่อน แค่อ่านหนังสือก็เขียนโปรแกรมกันได้แล้วแทบจะไม่ต้องไปลง course เรียนให้เสียสตางค์
3) มีเครื่องมือและตัวช่วยในการเขียนโปรแกรมให้ download ทำให้ลดเวลาในการเขียนโปรแกรมลงได้มาก
แล้วทำไมต้องเขียนโปรแกรม
คำถามนี้เป็นคำถามเดียวกับที่ผมเคยถามตัวเองมาแล้ว ว่าทำไมต้องมานั่งเขียนโปรแกรมเองให้เสียเวลา ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปไม่ได้เหรอ ให้คนที่ทำหน้าที่เป็น IT เขียนไม่ได้เหรอ ฯลฯ คำตอบที่ได้ก็มาจากประสบการณ์ตรงในการทำงานจริงของผม บวกกับความเห็นส่วนตัวด้วยนะครับ :)1) ถ้าเราอยากลดเวลาทำงานพวก report ที่มันซ้ำๆ หรือไม่อยากมานั่งประมวลผลข้อมูลเช่นตัดแปะแล้วคำนวณสูตร ซึ่งพวกนี้เป็นงานซ้ำๆที่ต้องทำอยู่เป็นประจำ การเขียนโปรแกรมแล้วให้มันทำงานที่ว่านี้ให้จะช่วยคุณได้มาก และคุณจะมีเวลาไปคิดงานอย่างอื่นที่มีประโยชน์กว่า
2) บ่อยครั้งที่คุณไม่สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทำงานของคุณให้เสร็ขในครั้งเดียว ครับ คุณอาจต้องการโปรแกรมของคุณเอง
3) ถ้าคุณฝันอยากจะสร้างเกมของคุณเอง การเขียนโปรแกรมก็เป็นหนังในสิ่งที่คุณควรศึกษา
4) ความสามารถในการเขียนโปรแกรมได้จะเพิ่มคุณค่าของคุณในการหางานครั้งต่อไป นั้นหมายถึงคุณมีโอกาสได้รับค่าตอบแทนมากขึ้น
5) การเขียนโปรแกรม มันส์ดี ครับ
สำหรับคุณผู้อ่านแล้วอาจมีเหตุผลอื่นๆอีกมากนอกเหนือจาก 5 ข้อนี้
ก็นั่นหละครับ มีแต่ข้อดีไม่มีข้อเสีย ดังนั้นเรามาเริ่มเขียนโปรแกรมกันดีกว่าครับ !
แล้วจะใช้ภาษาอะไรดี ?
โอวว ถามง่าย แต่ตอบไม่ง่ายนะครับจะใช้ภาษาไหนนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและลักษณะของโปรแกรมที่จะสร้างไปใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น ผมอยากเขียนโปรแกรมเกมที่สามารถนำไป run บนมือถือได้ อย่างนี้ควรเลือกศึกษา พวก Java เอาไว้ แต่หากจะเขียนเกมเพื่อเล่นบนเครื่องคอนโซลอย่าง Xbox360 ก็ต้องไปทางภาษา ตระกูล .NET XNA เป็นต้น
อย่างไรก็ตามภาษาที่ได้รับความนิยมและใช้งานกันอย่างแพร่หลายใน 'ตลาดแรงงานของเมื่องไทย' สมควรจัดเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆของมือใหม่ที่อยากศึกษาการเขียนโปรแกรมครับ เพราะเมื่อเขียนเป็นแล้วส่วนใหญ่สามารถหางานได้ง่ายกว่า(แต่ก็ไม่เสมอไป :P) เมื่อมีคนใช้งานภาษาเหล่านั้นเยอะเราจึงสามารถค้นหาแหล่งความรู้สำหรับภาษานั้นๆได้ง่ายกว่าด้วย ซึ่งภาษายอดนิยมก็ได้แก่ C++, Java, ภาษาตระกูล .NET(VB, ASP, C#), PHP เป็นต้น
แต่........
ภาษาที่ผมอยากแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักผ่านทาง Blog นี้ไม่ได้มีชื่ออยู่ในทำเนียบภาษายอดนิยมของเมืองไทย แต่กลับเป็นที่รู้จักกันมาสักพีกใหญ่แล้วในเมืองนอก อีกทั้งความนิยมของภาษานี้ก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้แต่ผมที่เคยสักกัดภาษา Java และ PHP ก็ยังแทใจเปลี่ยนมาใช้ภาษานี้เหมือนกัน ไม่ใช้เพราะตามกระแสหรอกครับ แต่เพราะของเขาดีจริงๆ
ภาษาที่ผมพูดถึงคือภาษา Ruby ครับ
ตอนหน้าเราจะมาดูกันครับว่า Ruby มันมีดียังไง
อยากเขียนโปรแกรมคอมเป็นต้องใช้โปรแกรมอะ
ตอบลบไรหลอครับ แล้วก็ขอพื้นฐานการเขียนโปปรแกรมด้วย
ในปัจจุบันมีภาษาคอมพิวเตอร์ให้เลือกศึกษาอยู่มากมายเลยครับ ส่วนใหญ่แล้วคนที่เพิ่งเริ่มศึกษาก็จะมองไปที่ภาษาอย่าง C, Java, VB หรือ PHP เพราะเป็นภาษาในกระแสหลัก เป็นที่นิยมและเป็นที่ต้องการของตลาด พอเริ่มเขียนโปรแกรมได้แล้วก็มักจะศึกษาภาษาอื่นๆ ต่อๆไปตามจุดประสงค์ในการนำไปใช้งานที่ต่างกัน
ตอบลบภาษา Ruby ก็เป็นอีกภาษาหนึ่งที่ผมคิดว่าเหมาะกับผู้ที่ต้องการ "เริ่ม" ศึกษาการเขียนโปรแกรมครับ เพราะโครงสร้างของภาษามันง่าย ตรงไปตรงมา และที่สำคัญมันเขียนเป็นโปรแกรมได้ค่อนข้างเร็วและสั้น ทำให้คนที่เพิ่งเรียนเขียนโปรแกรมไม่รู้สึกสะดุดหรืออึดอัดกับไวยากรณ์หรือข้อกำหนดที่มีอยู่มากมายในภาษาอื่น (อันนี้พูดถึง ในมุมมองของผู้เริ่มต้นนะครับ จริงๆ แล้วภาษา Ruby ก็มีข้อกำหนดไม่ต่างจากภาษาอื่นเหมือนกันแต่มันมักจะโผล่มาให้เราเจอในขั้น advance ไปแล้ว ก็เท่านั้น)
ลองดูครับ สู้ๆ